IVF (In Vitro Fertilization) หรือการปฏิสนธินอกร่างกายเป็นกระบวนการที่นำไข่และอสุจิมาผสมกันในห้องปฏิบัติการ จากนั้นย้ายตัวอ่อนที่ได้รับการปฏิสนธิกลับเข้าไปในมดลูกของผู้หญิงเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ กระบวนการนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากหลายสาเหตุ เช่น ท่อนำไข่อุดตันหรือคุณภาพอสุจิต่ำ
IUI (Intrauterine Insemination) คือการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงในช่วงเวลาที่ไข่ตก วิธีนี้ช่วยเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิและเหมาะสำหรับคู่สมรสที่มีปัญหาน้ำเชื้อผิดปกติเล็กน้อย ปากมดลูกผิดปกติ หรือ ภาวะมีบุตรยากแบบไม่มีสาเหตุ
การกระตุ้นไข่ใช้ยาหรือฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้รังไข่ผลิตไข่หลายฟอง วิธีนี้ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาการตกไข่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ตกไข่เลย
HRT (การบำบัดทดแทนฮอร์โมน) เป็นการทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ลดลงในวัยหมดประจำเดือน ช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน และอาการทางอารมณ์ ทั้งนี้ในปัจจุบัน หลักการให้ฮอร์โมนทดแทนนี้ ยังใช้ในผู้ที่ต้องการข้ามเพศ (Transgender) อีกด้วย
การรักษาขึ้นอยู่กับความต้องการมีบุตร ถ้ายังไม่ต้องการมีบุตร จะปรับประจำเดือนด้วยยาฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิด ร่วมกับปรับพฤติกรรม และลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน แต่หากต้องการมีบุตร จะต้องรักษาด้วยการกระตุ้นไข่
การวิเคราะห์น้ำเชื้อ (Semen Analysis) เป็นการตรวจสอบจำนวน ความเคลื่อนไหว และลักษณะของอสุจิ เพื่อประเมินภาวะเจริญพันธุ์ของเพศชาย การตรวจนี้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาภาวะมีบุตรยาก แนะนำตรวจในฝ่ายชายทุกคนที่เข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตร
การตรวจฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่ การตรวจฮอร์โมนไข่สำรอง (AMH) การตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid function test) การตรวจฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) และฮอร์โมนเพศอื่น ๆ เช่น ฮอร์โมน FSH, LH, Estrogen, Progesterone, Testosterone
การตรวจคัดกรองทางพันธุกรรม (Genetic Screening) เป็นการตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ช่วยคู่สมรสในการตัดสินใจและวางแผนการมีบุตรอย่างมีความรู้และความมั่นใจ ทั้งนี้สามารถตรวจได้ตั้งแต่ช่วงวางแผนมีบุตร ช่วงก่อนการฝังตัวอ่อน ช่วงตั้งครรภ์ และหลังคลอด ในหลากหลายวิธี
ที่ LFC Clinic เรามุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือที่ครอบคลุมและครอบคลุมทุกความต้องการของผู้ป่วย นี่คือบางด้านที่เราเสนอความช่วยเหลือ
เราให้บริการให้คำปรึกษาเพื่อช่วยให้คุณเข้าใจสถานการณ์สุขภาพของคุณและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยวิเคราะห์และให้คำแนะนำตามผลการตรวจและประวัติทางการแพทย์ของคุณ
การรักษาภาวะมีบุตรยากและการจัดการสุขภาพฮอร์โมนอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียดและกังวล ที่ LFC Clinic เรามีบริการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาและการสนับสนุนทางอารมณ์เพื่อช่วยคุณผ่านกระบวนการนี้ด้วยความเข้มแข็ง
เราเชื่อว่าการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจที่ดี เรามีแหล่งข้อมูลและเอกสารที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยาก การบำบัดฮอร์โมน และการตรวจแล็บ เพื่อให้คุณได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน
หลังจากการรักษาเริ่มต้น ทีมแพทย์และพยาบาลของเราจะทำการติดตามผลและให้การดูแลต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าการรักษาของคุณเป็นไปตามแผนและได้ผลลัพธ์ที่ดี
เราเข้าใจว่าการรักษาภาวะมีบุตรยากอาจมีค่าใช้จ่ายสูง LFC Clinic มีการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแผนการเงินและตัวเลือกการชำระเงินที่เหมาะสมเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้ง่ายและไม่เป็นภาระทางการเงิน
สุขภาพโภชนาการและวิถีชีวิตที่ดีมีผลสำคัญต่อการเจริญพันธุ์และสุขภาพโดยรวม บริการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์และการมีสุขภาพที่ดี
การอดหรืองดอาหารเพื่อ ตรวจเลือด นั้นเป็นการงดเพื่อตรวจ เบาหวานกับ ไขมัน การงดอาหารในที่นี้หมายถึง การงดอาหารและเครื่องดื่ม แต่สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ ในกรณีตรวจเบาหวานและไขมันควรงด 6-8 ชม. และ8-12 ชม. ซึ่งการงดอาหารก่อนตรวจจะทำให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้อง และแม่นยำที่สุด
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างค่ะ ถ้าไม่มีโรคประจำตัว หรือญาติพี่น้อง ยกตัวอย่างเช่นถ้าไม่มีใครเป็นมะเร็ง เบาหวาน โรคไต ความดันไขมัน ธาลัสซีเมีย ก็ตรวจตามช่วงอายุ เช่น อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจเบาหวาน ไขมัน เป็นหลัก แต่ถ้าเป็นโรคที่ต้องทานยาประจำ ต่อเนื่องนานๆก็ควรตรวจการทำงานของตับและไตเพิ่มด้วยอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือในกรณีที่มีกรรมพันธุ์เป็นโรคต่างๆ อย่างที่กล่าวข้างต้น ก็ควรเพิ่มการตรวจเช็ครายการนั้นเพิ่มเติม แต่ทั้งนี้ แนะนำว่าก่อนเข้ารับการตรวจควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ หรือนักเทคนิคการแพทย์ก่อน
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งจากเลือด (Tumor markers) มีความแม่นยำไม่ถึง 100 % และมากน้อยแตกต่างกันไปในมะเร็งแต่ละชนิด ดังนั้น หากผลตรวจออกมาผิดปกติ อาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป ซึ่งจะแนะนำให้ท่านลูกค้านำผลตรวจเลือดไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น หากสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้สูง (CEA) แนะนำให้ตรวจด้วยวิธีการสองกล้อง หากสารบ่งชี้มะเร็งเต้านมสูง (CA 15-3) แนะนำให้ตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม หากสารบ่งชี้มะเร็งตับสูง (A F P) แนะนำให้อัลตราซาวด์ช่องท้อง เอ็มอาร์ไอ (MRI) หรือให้แพทย์ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ เป็นต้น
เป็นคำถามที่พบบ่อยมาก แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน ถ้าเราไม่ตรวจสุขภาพ ก็จะไม่เจออะไรผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ ถ้ามีความผิดปกติอะไรขึ้นมา แทนที่จะสามารถรักษาได้ กลายเป็นว่ารักษาไม่ทันแล้วยังต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งเราจะไม่ได้ยินประโยคนี้ถ้าเราหมั่นตรวจ เช็คสุขภาพ รู้ปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ ดีกว่าปล่อยให้เป็นอะไรมาก ๆ แล้วมารักษา
ในเพศหญิงเองก็มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนเพศชายอยู่เช่นกัน โดยมีผลต่อความแข็งแรงของร่างกายโดยรวม เช่น กระดูกและกล้ามเนื้อ แต่หากมีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไปในเพศหญิง อาจทำให้มีลักษณะอาการที่ไม่พึงประสงค์ เช่น สิวขึ้นเยอะ, มีขนเยอะ, ผิวมัน, ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น
ในเพศชายเองก็มีฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจนเช่นกัน ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศชาย จะมีผลในเรื่องสมรรถภาพทางเพศ รวมถึจความแข็งแรงของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ หากมีฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจนมากเกินไป สามารถส่งผลให้มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง มีไขมันสะสมได้ง่ายสมรรถภาพทางเพศลดลง เป็นต้น